ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot




ตู้ขายน้ำดื่มอัตโนมัติแหล่งปนเปื้อนที่น่ากลัว article
วันที่ 04/12/2008   14:29:42

 

             นายณัฐวุฒิ ศรีทองเติม เจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร หรือโมบายยูนิต กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการศึกษาสถานการณ์ความปลอดภัยของน้ำบริโภคที่ผลิตจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ในกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต จำนวน 350 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างตั้งแต่ ธ.ค.2549 - ก.พ.2550 พบว่า ตัวอย่างที่เก็บมาจุลินทรีย์ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากพบแบคทีเรียอีโคลาย จำนวน 2 ตัวอย่างจากทั้งหมด คิดเป็น 0.57% และพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มที่เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงเช่นเดียวกับแบคทีเรียอีโคลาย พบจำนวน 19 ตัวอย่างจากทั้งหมด คิดเป็น 5.43% ทั้งนี้ แบคทีเรียดังกล่าวไม่ควรพบในน้ำดื่มเลย

เมื่อสำรวจลักษณะของเครื่องจำหน่ายพบว่ากว่า 50% ตะไคร่ติดอยู่บริเวณท่อจ่ายน้ำ เนื่องจากแสงแดดเป็นปัจจัยหลัก เพราะสปอร์ของตะไคร่น้ำเหล่านี้อยู่ในอากาศอยู่แล้ว แต่ไม่น่าวิตกเพราะหากบริษัทเจ้าของเครื่องมาทำความสะอาดบ่อยครั้งขึ้นก็สามารถแก้ไขปัญหาตะไคร่น้ำได้นายณัฐวุฒิ กล่าว

นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า ในส่วนของทางเคมี พบว่า มีความกระด้างต่ำกว่าค่ามาตรฐานถึง 7 ตัวอย่างคิดเป็น 2% ในส่วนของค่าความเป็นกรดและด่างนั้น มีตกมาตรฐานถึง 64 ตัวอย่าง คิดเป็น 18.29% ทั้งนี้ เมื่อสอบถามจากผู้บริโภคพบว่า 50% ไม่มั่นใจในการซื้อน้ำดังกล่าว อีก 3% คิดว่า ไม่สะอาดเลย มีเพียง 47% ที่มั่นใจว่า น้ำที่จำหน่ายด้วยตู้อัตโนมัติสะอาด และเมื่อสอบถามกับผู้บริโภคที่นำภาชนะมาบรรจุว่า มีเพียง 14.11% ที่นำไปล้างทำความสะอาดภาชนะก่อนมาบรรจุน้ำทุกครั้ง มี 15% ที่ทำความสะอาดบ้างไม่ทำบ้าง และ 74.94% นำน้ำที่บรรจุไปดื่มทันที มีเพียง 10.42% นำไปต้ม และ 13.15% นำไปกรองก่อน ทั้งนี้ หากมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอาจทำให้ป่วยได้ จึงอยากแนะนำให้ผู้บริโภคนำไปต้มก่อนก็จะดี

ในภาพรวมแล้ว แม้ว่าจะมีการพบจุลินทรีย์ปนเปื้อนบ้าง มีค่าความเป็นกรดด้าง และความกระด้างของน้ำบ้าง ก็สามารถดื่มได้ไม่ต้องตื่นตระหนก แต่อย่างใด เพราะหากนำไปต้มก่อนบริโภคเชื้อโรคก็จะไม่เป็นอันตรายกับผู้บริโภค ทั้งนี้ ระบบการกรองที่เครื่องส่วนใหญ่ใช้ระบบผ่านเยื่อกรองที่มีขนาดเล็กมาก หรืออาร์โอ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่า บริษัทเจ้าของเครื่องจำหน่ายต่างๆ มีอัตราการทำความสะอาดระบบกรองประมาณ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หากให้ความสำคัญในส่วนนี้มากขึ้นก็จะเป็นเรื่องที่ดี ขณะเดียวกัน ฝ่ายผู้บริโภคเองก็ควรระมัดระวังในการทำความสะอาดภาชนะบรรจุให้ดีก่อนไปใส่น้ำนายณัฐวุฒิ กล่าว

นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับตัวเครื่อง เพราะไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ชัดเจน แม้ว่าอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ที่นำมาประกอบจะมีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) แต่เมื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องจำหน่ายน้ำอัตโนมัติแล้วกลับไม่มีการควบคุมมาตรฐานและมีเจ้าภาพดูแลอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ในส่วนของเครื่องจำหน่ายน้ำดื่มอัตโนมัตินี้อยู่ในข่ายตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเรื่องคุณภาพและมาตรฐานน้ำดื่มหยอดเหรียญ ซึ่งมีมาตรฐานน้อยกว่า มาตรฐานะของน้ำดื่มที่ อย.เป็นผู้ควบคุมดูแล ซึ่งคุมเข้มในหลายส่วน อาทิ สถานที่ตั้ง วัสดุอุปกรณ์ แหล่งที่มาของน้ำดื่ม ฯลฯ นอกจากนี้ หากจัดให้อยู่ในกฎหมายมาตรฐานของน้ำดื่มแล้ว เสนอแนะให้ผู้ประกอบการนำน้ำมาผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อาทิ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฯลฯ เป็นระยะเพื่อทดสอบคุณภาพของน้ำดื่มที่จำหน่ายให้ผู้บริโภค

 

 

 

 

ที่มา

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการรายวัน

21 / 09 / 2550




บทความวิชาการและวิทยาการสมัยใหม่

ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 วันที่ 28/10/2010   11:54:22 article
บทความเรื่อง : ฆาตกรเงียบ วันที่ 21/10/2010   14:28:00
รู้จักกับ “แก๊สน้ำตา” วันที่ 21/10/2010   14:29:59
ความรู้ในเรื่องเลือดส่วนประกอบของเลือด และการบริจาค วันที่ 29/11/2008   13:09:39
7 อาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม วันที่ 29/11/2008   13:17:15
การรักษากระดูกหักด้วยการผ่าตัดดามโลหะ วันที่ 04/12/2008   14:35:07
เมื่อเจ้าตัวเล็กกระดูกหัก วันที่ 04/12/2008   14:34:37
การต่อนิ้วหัวแม่มือ วันที่ 04/12/2008   14:35:37
แผลเป็นและเป็นแผล วันที่ 04/12/2008   14:36:31
บาดแผล เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา วันที่ 02/12/2008   09:58:34
ป้องกัน “ดวงตา” จากอุบัติเหตุรถยนต์ วันที่ 04/12/2008   14:33:39
โปรดระวังอันตรายจาก คลอโรฟอร์ม วันที่ 04/12/2008   14:37:49
นอนไม่หลับทำงัยดี วันที่ 04/12/2008   14:32:25
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม วันที่ 00/00/0000   00:00:00
กลัวการผ่าตัดอ่านทางนี้ วันที่ 00/00/0000   00:00:00
ปลูกถ่ายฟัน.........ทางเลือกของคนฟันผุ วันที่ 04/12/2008   14:31:44 article
ตรวจมะเร็งได้จากการตรวจเลือด วันที่ 04/12/2008   14:31:11 article
ปวดต้นคอทำอย่างไร วันที่ 04/12/2008   14:30:24
มันมากับรองเท้า วันที่ 04/12/2008   14:29:21
คนไทยเป็นพาหะธาลัสซีเมีย วันที่ 04/12/2008   14:28:50