ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
dot




ประวัติโรงพยาบาล

 

ประวัติ

โรงพยาบาลเทพปัญญา         

                อาคารโรงพยาบาลเทพปัญญา  เดิมได้มีการออกแบบเป็นอาคารพาณิชย์ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1ไร่ 3 งาน 30 ตารางวา โดยชั้นที่ 1 และ 2  ออกแบบเป็นพื้นที่สำหรับการพาณิชย์  ชั้น 3 ถึงชั้น 7  เป็นห้องพักอาศัย  ต่อมาได้ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบก่อสร้างให้เป็นอาคารโรงพยาบาล  130 เตียง  โดยออกแบบโครงสร้างลิฟท์  ลิฟต์ขนส่งผู้ป่วย  ระบบบำบัดน้ำเสียเพิ่มเติม มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 11,546 ตารางเมตร โดยจัดตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน  120 ล้านบาท  เริ่มดำเนินการสำรวจและออกแบบรวมทั้งทำการปรับปรุงแก้ไข  ตั้งแต่ปลายปี พ.. 2539  จนกระทั่งแล้วเสร็จในขั้นตอนแรก ในเดือนกรกฎาคม  2539 และทำพิธีเปิดให้บริการเบื้องต้น เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2539  ต่อมาได้ทำการก่อสร้างในส่วนที่เหลือ  จนเสร็จสมบูรณ์และได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่  1  ธันวาคม  2539

 

ประวัติการก่อตั้ง

                เดิมในจังหวัดเชียงใหม่ มีโรงพยาบาลเอกชนที่มีมาตรฐานและให้บริการที่มีคุณภาพ และได้รับการไว้วางใจจากประชาชนชาวเชียงใหม่ รวมทั้งประชาชนในเขตภาคเหนือตอนบน คือ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม  ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่  ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว  ก่อตั้งและให้บริการมาตั้งแต่ปี พ..2536 ต่อมา ความต้องการในการรับการตรวจรักษาของประชาชนในจังหวัดทางภาคเหนือ  มีเพิ่มมากขึ้น สถานพยาบาลที่ให้บริการประชาชนที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทางกลุ่มคณะผู้บริหารโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จึงมีความคิดที่จะขยายการให้บริการออกไป เพื่อสนองต่อความต้องการ เนื่องจากภายในระยะเวลาที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม เปิดให้บริการมา 2 ปี  ประชาชนชาวเชียงใหม่และในภาคเหนือ  ได้ให้ความเชื่อถือและให้ความไว้วางใจเป็นอย่างมาก  ดังนั้นกรรมการบริหารโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม จึงตัดสินใจทำการก่อตั้งโรงพยาบาลทั่วไปขึ้นมาเพิ่มอีกหนึ่งแห่งภายในตัวเมืองเชียงใหม่ โดยใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม 2” โดยมีนโยบายที่รับมาจากโรงพยาบาลเชียงใหม่ รามคือเป็นโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Fee for Service แต่เนื่องจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงเปิดใหม่ของโรงพยาบาลจึงเกิดผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินการ ทำให้กรรมการบริหารโรงพยาบาลได้ตัดสินใจปรับทิศทางองค์กรโดยรับผู้ป่วยกลุ่มประกันสังคมในปี 2542 และรับกลุ่มผู้ป่วยประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2544 เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยให้เหมาะสมกับทรัพยากรต่างๆทั้งเครื่องมือแพทย์และบุคคลากรที่ได้ลงทุนไปแล้ว ผลการตัดสินใจดังกล่าวยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนสะสมในการดำเนินการได้ และยังพบปัญหาความเข้าใจในการใช้สิทธิของผู้ป่วยกลุ่มประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกับการถูกร้องเรียนอยู่เสมอ กรรมการบริหารจึงตัดสินใจยกเลิกการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2546พร้อมกับปรับทิศทางองค์กรใหม่โดยเน้นการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามจุดแข็งของสถานที่ตั้งโรงพยาบาลซึ่งเข้าถึงได้สะดวกเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน และเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น โรงพยาบาลเทพปัญญาในเดือน กันยายน 2547เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อของบริษัทคือบริษัทเทพปัญญาธุรกิจจำกัด และเพื่อเป็นการลบภาพลักษณ์เดิมสอดรับกับทิศทางใหม่ขององค์กร

                                โรงพยาบาลเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เว้นวันหยุด แผนกผู้ป่วยนอกทั่วไปและผู้ป่วยนอกประกันสังคมเปิดบริการตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 .  เปิดให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินโดยศัลยแพทย์ตลอด 24ชั่วโมง มีการจัดเตรียมความพร้อมของสถานที่และเครื่องมือแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างครบวงจร อาทิ ห้องตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็กซเรย์และ CT Scan และห้องผ่าตัดเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ บริเวณเดียวกันเป็นต้น สำหรับผู้ป่วยในมีหอผู้ป่วยชั้น 4 และชั้น 5 โดยแบ่งเป็นหอผู้ป่วยฉุกเฉินและหอผู้ป่วยประกันสังคม มีการวางระบบการทำงานของพยาบาลต่อผู้ป่วยตามการคำนวณจากภาระงาน หน่วยงานสนับสนุนอื่นๆ มีการจัดเตรียมไว้อย่างสอดคล้อง  และเหมาะสมกับการให้ บริการผู้ป่วย   ทั้งผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยประกันสังคมที่เข้ามารับบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                                ในด้านระบบคุณภาพของโรงพยาบาล  ทางโรงพยาบาลได้นำมาตรฐานระดับชาติ และระดับสากลมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการอย่างบูรณาการใน 5 ระบบ ได้แก่

1.  มาตรฐาน Hospital Accreditation (HA)  สำหรับการให้บริการรักษาผู้ป่วย ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับการรับรองบันไดขั้นที่ 1 ของ HA จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) เมื่อเดือนมีนาคม 2549

2.  มาตรฐานสากล ISO 9001:2000 สำหรับระบบคุณภาพการบริการ ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับการรับรอง โดยบริษัท URS ของ UKAS ตั้งแต่ปี พ.. 2542 จนถึงปัจจุบัน และมีการ Surveillance ทุก 6 เดือนอย่างต่อเนื่อง

3.  มาตรฐานสากล ISO 14001 สำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับการรับรองโดยบริษัท URS ของ UKAS ตั้งแต่ปี พ.. 2544 จนถึงปัจจุบัน และมีการ Surveillance โดยตลอดเช่นกัน

4.  มาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001 สำหรับการรับผิดชอบต่อสังคมและแรงงาน โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับพนักงาน ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการจากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถือเป็นบริษัทนำร่องในโครงการของสำนักงาน สวัสดิการและแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการรับรองมาตรฐานในปี 2549

5.  มาตรฐานสากล ISO 15189 สำหรับห้องปฏิบัติการ ซึ่งทางโรงพยาบาลได้รับเลือกเป็นโรงพยาบาลในโครงการพัฒนามาตรฐานห้องปฏิบัติการของจังหวัดเชียงใหม่โดยทุนของโครงการ Medical Hub โดยมีแผนที่จะ Certified ภายในปี 2550